ReadyPlanet.com
dot dot
Getting help for domestic violence or abuse


การขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน:
กรณีที่คุณถูกคู่สมรสทำร้าย บาดเจ็บ หรือตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน ถ้าอยู่ในอเมริกา โทร 911 ถ้าคุณอยู่ประเทศอื่น ให้โทรหมายเลขฉุกเฉินสำหรับประเทศนั้นๆ
ขอคำแนะนำ/ความช่วยเหลือ :

การตัดสินใจว่าจะอยู่หรือจะไป:  
สิ่งที่ควรคำนึงถึงก่อนจะทำอะไรลงไปคือ...  

* ถ้าคุณคิดว่าเขาจะกลับเนื้อกลับตัวได้.... คุณจะถูกเขาทำร้ายอีกครั้งแล้วครั้งเล่า  คนแบบนี้มีปมปัญหาทางจิตที่ฝังรากลึกจนแก้ไม่หาย หรืออาจจะเรียกว่าแก้ไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่อายุมากขึ้น  การเข้ารับการบำบัดไม่ได้ผลเสมอไป

* ถ้าคุณคิดว่าจะอยู่เป็นกำลังใจให้เขา คุณคิดผิด เพราะการที่คุณยอมรับ หรือนัยหนึ่งไม่อยู่ในฐานะที่จะตอบโต้เขาได้ เท่ากับยิ่งทำให้อาการของเขาหนักขึ้น แทนที่จะทุเลาลง

* ถ้าเขาสัญญาว่าจะเลิกนิสัยนี้  เวลาบันดาลโทสะลงมืออีกที เขาจะออดอ้อน ขอโทษ ขอโอกาสแก้ตัว ฯลฯ  ถ้าคุณใจอ่อน คุณจะตกอยู่ในวังวนนี้ตลอดไป แต่ถ้าคุณจากไปเขาก็ไม่เสียดายหรือเสียใจ.. แต่หาใหม่ทันที

* การเข้ารับการบำบัดไม่ได้เป็นเครื่องรับรองว่าเขาจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนักหนาสาหัสของปัญหา ขึ้นอยู่กับปูมหลัง พิ้นเพครอบครัว การศึกษา และปัจจัยอื่นอีกหลายๆ อย่าง

สัญญาณที่บ่งบอกว่าเขาไม่มีวันจะเปลี่ยนได้:
* เขาจะทำเหมือนมันเป็นเรื่องเล็ก ไม่มีความหมาย
* เขามักโทษว่าเป็นความผิดของคนอื่น ที่ทำให้เขาเป็นแบบนี้ รวมทั้งโทษคุณด้วย
* เขาจะบังคับให้คุณไปเข้าคอร์สบำบัด จริงๆ แล้วเขาจะได้หาเหตุนี้โทษว่าคุณเองนั่นแหละเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาเป็นแบบนี้ เขาไม่ผิด คุณต่างหากที่ผิด
* เขาอ้างว่าคุณไม่ให้โอกาสเขา
* คุณต้องเคี่ยวเข็ญให้เขาเข้าคอร์สบำบัด ไม่งั้นเขาไม่ยอมไป
* เขาบอกคุณว่า เขาจะปรับปรุงตัวไม่ได้ถ้าไม่มีคุณอยู่เคียงข้าง  ตรงนี้ผู้หญิงส่วนมากมักแปลความผิดๆ ว่าเขารักตัว แต่ความจริงไม่ใช่ เขายอมอ่อนเพราะต้องการอำนาจการควบคุมโดยสิ้นเชิงภายหลังค่ะ

ปลอดภัยไว้ก่อน:
ไม่ว่าคุณจะเลือกเดินทางไหน สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณต้องคำนึงถึงคือความปลอดภัยของตัวเอง  จำไว้เสมอว่าหนึ่งในสามของคดีฆาตกรรมในอเมริกานั้น เกิดจากน้ำมือคู่สมรสหรือแฟนที่อยู่กินด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการฆาตกรรมโดยไม่ได้เจตนาคือบันดาลโทสะ แต่หลุดมือแรงไปหนอยเลยทำให้พลาดถึงตาย  หรือกรณีที่โกรธเพราะรู้ว่าอีกฝ่ายตีตัวออกห่าง หรือมีแผนจะหย่า ในกรณีหลังนี้มักจะมีเรื่องการฆาตกรรมเพื่อเอาเงินประกันชีวิตพ่วงเข้ามา ด้วย  ยกตัวอย่าง ถาคุณไปเจอสามีที่เคยแต่งงานกับผู้หญิงต่างชาติมาแล้วมากกว่าหนึ่งคน แถมประกันชีวิตที่ทำไว้ ก็มีเงื่อนไขชวนกังขา เช่น ถ้าเขาตายคุณได้หนึ่งแสน แต่ถ้าคุณตาย เขาได้ห้าแสน  อย่างนี้ถ้ามีเรื่อง abuse เข้ามาร่วมด้วยเมื่อไหร่ ขอให้แยกทางไปโดยเด็ดขาด เพราะมีความเสี่ยงสูงที่คุณอาจจะไม่ได้กลับเมืองไทยตัวเป็นๆ

บ้านพักฉุกเฉิน:
บ้านพักฉุกเฉินโดยมาเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ซึ่งมีรายได้ส่วนหนึ่งมาจากรัฐ และบางส่วนจากเงินบริจาคหรือผู้สนับสนุน  ถ้าคุณมีลูกที่เป็นผู้เยาว์ คุณจะได้รับความคุ้มครองทั้งแม่ทั้งลูก  ปกติบ้านพักฉุกเฉินจะมีกำหนดเวลาว่าคุณจะอยู่ได้นานที่สุดเท่าไหร่ ระหว่างนั้นเขาก็จะให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ จนคุณสามารถยืนด้วยลำแข้งตนเองได้
สิ่งที่คุณจะได้รับจากบ้านพักฉุกเฉินคือ

* ความช่วยเหลือเรื่องกฏหมาย  ข้อนี้สำคัญมาก เพราะถ้าคุณไม่มีเงินจำนวนมากๆ ติดตัว  บ้านพักฉุกเฉินเป็นทางออกที่ดี เขาสามารถช่วยเหลือในเรื่องการขอ restraining order/protective order ให้คุณ  หาทนายทำเรื่องหย่า และเรียกร้องค่าเลี้ยงดูบุตรให้คุณ  ซึ่งลำพังส่วนนี้ถ้าคุณต้องจ้างทนายเองก็ไม่ต่ำกว่าสี่ถึงห้าพัน

* ให้คำปรึกษา และ Support groups

* สวัสดิการสำหรับเด็ก เช่นลูกต้องไปหาหมอ ฉีดวัคซีน ฯลฯ

* หางานทำ ตรงนี้บางคนอาจจะคิดว่า ไม่เห็นเขาทำอะไรให้เลย มีแต่ให้รายชื่อมาแล้วใหไปสมัครเอาเอง  การสมัครงานนั้นถ้าคุณเคยสมัครงานคงจะทราบว่า เมื่อกรอกรายละเอียดต่างๆ ไปเรียบร้อยแล้ว จะมีหน้าท้ายๆ ที่ถามว่า คุณเข้าข่ายข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้หรือไม่ เช่น คุณ disable หรือเปล่า คุณรับสวัสดิการของรัฐหรือเปล่า ฯลฯ ให้ตอบว่าคุณรับสวัสดิการของรัฐ เพราะบ้านพักฉุกเฉินรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลค่ะ  ตรงนี้จะทำให้คุณได้สิทธิพิเศษ กล่าวคือผู้ว่าจ้างจะต้องพิจารณารับคุณก่อนถ้ามีผู้สมัครรายอื่นที่มี คุณวุฒิเท่าเทียมกับคุณ ดังนั้นโอกาสที่จะได้งานจะมีมากกว่าการไปหางานด้วยตนเอง  

* การรักษาพยาบาล หากคุณถูกทำร้าย บ้านพักฉุกเฉินจะช่วยให้คุณได้รับการรักษาฟรี หรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด  นอกจากนั้นบ้านพักฉุกเฉินยังจะช่วยคุณในการยื่นเรื่องขอฟู้ดแสตมป์ และเงินช่วยเหลือจากรัฐในระหว่างที่คุณยังไม่มีงานทำ

ผู้หญิงไทยหลายคนที่ตกที่นั่งแบบนี้ แต่ก็ผ่านพ้นวิกฤติในชีวิตไปได้โดยราบรื่น แม้จะมีอุปสรรคบ้างในช่วงต้นๆ แต่หลายคนก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ปัจจุบันสามารถดูแลตัวเองได้ในระดับที่น่าพอใจ มีอิสระและความเป็นอยู่ดีตามอัตภาพ ไม่มีปัญหาเรื่องอิมมิเกรชั่น  ฉนั้น อย่ากังวลและยึดติดกับวัตถุมาก จนละเลยเรื่องความปลอดภัยของชีวิตตัวเองค่ะ

หมายเหตุ:

1.  ถ้าได้ restraining order/protective order แล้ว หากคุณติดต่อสามีไม่ว่าจะโทรไป จดหมาย หรืออีเมล์ ฯลฯ จะมีผลทำให้ restraining order นั้นเป็นโมฆะทันที  คือถ้าสามีประชิดตัว คุณจะเรียกตำรวจจับเขาไม่ได้  แต่ถ้าไม่ติดต่อเขาไป และเขาพยายามติดต่อคุณ  คุณสามารถแจ้งตำรวจจับข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งศาลได้  โทษคือจำขังเท่านั้นประมาณ 7-10 วัน แล้วแต่รัฐค่ะ

2. ในกรณีที่คุณลังเล ว่าจะกลับไปดีไหม จะทำอย่างไรเพื่อให้เขาเบาๆ ลง เช่น probation หรือมาตราการอื่น  ขอเรียนว่า ไม่มีประเทศไหนในโลกนี้ ที่มีการการทำทัณฑ์บนระหว่างสามีภรรยา มีแต่ว่าถ้าอยู่กันไม่ได้เพราะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งถูกทำร้ายบาดเจ็บ หรือถูกทารุณจิตใจอย่างเหลือวิสัย ก็จะเป็นเหตุให้ยื่นฟ้องหย่าต่อศาลได้  

การใช้กำลังเป็นสาเหตุแห่งการหย่าในเกือบทุกรัฐ คือสามารถทำให้หย่าได้โดยไม่ต้องรอ ไม่ต้องแยกทางกันก่อนเป็นเวลาเท่านั้นเท่านี้ปี ตามที่กฏหมายกำหนด ไม่เหมือนการหย่าโดยสมัครใจ   การกลับไปคืนดีกันในกรณีที่เป็น domestic violence ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่เจ้าตัวต้องรับเองหากเลือกตัดสินใจแบบนั้น

3. อย่าคิดว่าเป็นเรื่องน่าอับอายขายหน้า เหตุแบบนี้เกิดขึ้นกับผู้หญิงอเมริกันห้าสิบเปอร์เซนต์ ไม่เฉพาะผู้หญิงต่างชาติ  อย่าอายที่จะออกปากขอความช่วยเหลือ  และอย่าคิดว่าจะทนเพื่อเงินค่าเลี้ยงดู หรือส่วนแบ่งของสินสมรส ผู้ชายประเภทนี้ไม่โง่ค่ะ ส่วนมาก.. โดยเฉพาะคนที่มีกิจการของตัวเอง เขารู้จักการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ของตนเอง จะได้ไม่ต้องเสียภาษีมาก ไม่มีหลักฐานว่ามีสินสมรสจำนวนมาก เวลาหย่าคุณจะได้ไปแต่ตัว (คำนี้หลายคนคงเคยได้ยินจากปากสามีตัวเอง... ยกเว้นคนที่โชคดีจริงๆ)  ปล่อยให้เป็นดุลยพินิจของศาลค่ะ

หาก คุณตกเป็นหนึ่งในกลุ่มของผู้หญิงที่ถูกสามีทำร้ายร่างกาย หรือทำทารุณทางจิตใจหรือรูปแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการกักขังหน่วงเหนี่ยวม่ให้คุณคบเพื่อนหรือไปไหนมาไหน ไม่ยอมให้ทำใบขับขี่ หรือถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควรและเป็นการฝืนใจตัวเอง เช่น บังคับให้คุณขายตัว  ติดต่อดิฉันได้ค่ะ








Marriage & Divorce

The 10 Most Expensive Celebrity Divorces (สำหรับสมาชิก)
Anne (สำหรับสมาชิก)
How to Make It Through the Holidays After Divorce (สำหรับสมาชิก)
Divorce in NY (สำหรับสมาชิก)
CA or NV (สำหรับสมาชิก)
Fiancé Visa VS Spouse Visa (สำหรับสมาชิก)
Rules for Divorce in Canada
Inheritance (สำหรับสมาชิก)
Paternity Test in PA (สำหรับสมาชิก)
Divorce (สำหรับสมาชิก)
Parental/Guardian Approval For Minors To Travel (สำหรับสมาชิก)
Texas Divorce (สำหรับสมาชิก)
Marriage Overseas (สำหรับสมาชิก)
US Child Support Laws (สำหรับสมาชิก)
Managing Marital Property - Do's and Don'ts (สำหรับสมาชิก)
Domestic Violence (สำหรับสมาชิก)
Spouse don't show up in court (สำหรับสมาชิก)
Child Support Question (สำหรับสมาชิก)
How To Serve Divorce Papers (สำหรับสมาชิก)
Alimony (สำหรับสมาชิก)
Divorce & Child Support
Nebraska Divorce (สำหรับสมาชิก)
Before You Leave.. (สำหรับสมาชิก)
Remarriage Waiting Period (สำหรับสมาชิก)
Legal Separation (สำหรับสมาชิก)
Finding the Right Divorce Attorney (สำหรับสมาชิก)
State-by-State Marriage "Age of Consent" Laws (สำหรับสมาชิก)
Child support modification (สำหรับสมาชิก)
Contempt of Court
Get Real !!! (สำหรับสมาชิก)
รจนาเลือกคู่ ตอนที่หนึ่ง (สำหรับสมาชิก)
Domestic Violence & Divorce (สำหรับสมาชิก)
Divorce in Thailand 1 (สำหรับสมาชิก)
Filing a Divorce (สำหรับสมาชิก)
Divorce Before 2 Years I (สำหรับสมาชิก) article
Divorce Before 2 Years II (สำหรับสมาชิก) article
Divorce in Denmark (สำหรับสมาชิก)
Married to Abusive Husband (สำหรับสมาชิก)
Domestic Disputes (สำหรับสมาชิก)
Unmarried Couple (สำหรับสมาชิก)
Canadian-Thai Marriage (สำหรับสมาชิก)
Jim & Linda (สำหรับสมาชิก)
Is it too late? (สำหรับสมาชิก)
An Equitable Divorce (สำหรับสมาชิก)
Spousal Support/Alimony (สำหรับสมาชิก)
Divorce & Debts (สำหรับสมาชิก)
Child Custody FAQs (สำหรับสมาชิก)
Grounds for Divorce P-W (สำหรับสมาชิก)
Grounds for Divorce N-O (สำหรับสมาชิก)
Grounds for Divorce: M (สำหรับสมาชิก)
Grounds for Divorce: H-L (สำหรับสมาชิก)
Grounds for Divorce: A-M (สำหรับสมาชิก)
Separation Period (สำหรับสมาชิก)
How do you prepare for a divorce? article
What Every Woman Should Know About Marriage III (สำหรับสมาชิก)
What Every Woman Should Know About Marriage II (สำหรับสมาชิก)
What Every Woman Should Know About Marriage I (สำหรับสมาชิก)
Waiting Times After A Divorce (สำหรับสมาชิก)
Child Support & Paternity Test (สำหรับสมาชิก)
Truth About Marriage (สำหรับสมาชิก)
Child Support & Unmarried Couple
Before Filing for a Divorce II (สำหรับสมาชิก)
Before Filing for a Divorce I (สำหรับสมาชิก)
Should I Change My Family Name? (สำหรับสมาชิก)
Child Support (สำหรับสมาชิก)
Can I Keep My Maiden Name?
Greencard & Divorce (สำหรับสมาชิก)
What to Bring to Your Divorce Lawyer
Married to Pedophiles (สำหรับสมาชิก)
Seeking Farang Husband (สำหรับสมาชิก)
Separation vs. Divorce (สำหรับสมาชิก)
Annulment/Divorce vs Immigration (สำหรับสมาชิก)
No Passport (สำหรับสมาชิก)
He's Still Married.. (สำหรับสมาชิก)
Abusive Relationship (สำหรับสมาชิก) article



bulletFeature Articles
bulletMarriage & Divorce
bulletImmigrant Visa
bulletNon-Immigrant Visa
bulletFree Zone
bulletExchange Program
bulletWomen & Money
bulletThai Laws
bulletDating
bulletSSN & DL
bulletMisc
bulletBehind the Facade
bulletCoffee Break
bulletMarket Place
dot
useful links
dot
bulletCase status online
bulletUSCIS Civil Surgeons
bulletUSCIS Field Offices
bulletImmigration Overseas Offices
bulletApplication Support Centers
bulletInfoPass
bulletUSCIS Home
bulletImmigration Forms
bulletForeign Embassies and Consulates Worldwide
bulletDept of Labor
bulletDept of State
bulletETA
bulletVisa Bulletin
bulletTravel
bulletEOIR
bulletSelective Service
bulletSocial Security Online
bulletIRS
dot
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน
dot
bulletUtopiaThai
bulletWorldTimes
bulletHumansRights
dot
Newsletter

dot

แบนเนอร์ตัวอย่าง
แบนเนอร์ตัวอย่าง
แบนเนอร์ตัวอย่าง


Copyright © 2009-2015 All Rights Reserved.