ถ้า คุณมีอันตราย โทรเรียก 911 ทันที หรือ โทรหมายเลข emergency ของท้องถิ่น ติดต่อขอความช่วยเหลือเรื่องที่เกี่ยวกับ Domestic Violence ได้ที่
National Domestic Violence Hotline:
1-800-799-SAFE
1-800-787-3224 (TTY)
1. ในกรณีฉุกเฉิน
ถ้าคุณอยู่ที่บ้าน และสามีข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง หรือลงไม้ลงมือบ้างแล้ว:
* อยู่ให้ห่างจากครัว เพราะอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวหลายอย่าง เป็นอาวุธอย่างดี เช่นมีด
* อย่าหนีเข้าไปในที่แคบๆ เช่น ห้องน้ำ ตู้เก็บของ เพราะคุณจะ ติดกับอยู่ในนั้น หาทางออกไม่ได้
* พยายามออกมาทางที่มีประตูทางออก หรือหน้าต่างที่เปิดอยู่ (ถ้าไม่ได้อยู่อาคารสูง)
* คว้าโทรศัพท์ออกมาด้วย และโทรขอความช่วยเหลือทันที
* โทร 911 ทันที (หรือหมายเลข emergency ของท้องถิ่น) ขอความช่วยเหลือ ขอทราบชื่อเจ้าหน้าที่ที่รับสายด้วย**
* ถ้าเพื่อนบ้านอยู่ไม่ไกล วิ่งไปขอความช่วยเหลือ
* เวลาตำรวจมาถึง อธิบายให้ตำรวจทราบว่าเกิดอะไรขึ้น ลำดับความให้ชัดเจน อย่าลุกลน จดชื่อและหมายเลข บนตราตำรวจ เอาไว้ด้วย**
* ไปโรงพยาบาลทันที ถ้าถูกทำร้าย ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใดก็ตาม
* ถ้ามีบาดแผลหรือร่องรอยฟกช้ำ ให้ถ่ายรูปเอาไว้เป็นหลักฐาน
* โทรติดต่อ domestic violence program หรือ บ้านพักฉุกเฉิน; ขอความช่วยเหลือ
***คุณสามารถให้รายชื่อเจ้าหน้าที่และตำรวจแก่อัยการ เพื่อที่บุคคลเหล่านี้ จะได้เป็นพยานให้คุณ เวลาคุณดำเนินคดีสามี***
2. ป้องกันตัวเองเสมอแม้เวลาที่อยู่คนละบ้าน
* เตรียมพร้อมเสมอ; จำหมายเลขโทรศัพท์ emergency ให้แม่น
* เอาโทรศัพท์ ไปไว้ในห้องที่คุณสามารถล็อคจากด้านในได้ ถ้ามีโทรศัพท์มือถือ เอาไว้ในตำแหน่งที่หยิบฉวยได้ง่ายเสมอ
* ถ้าสามีคุณย้ายออก, เปลี่ยนกุญแจประตู และกลอน หน้าต่าง ให้หมด
* เตรียมหาหนทางออกจากบ้านในกรณีฉุกเฉิน; สอนลูกด้วยว่า ควรจะทำอย่างไร
* เตรียมหาที่รองรับ ในกรณีที่ต้องหนีออกจากบ้าน จะได้ไม่เคว้ง คว้าง ว่าจะไปอยู่ที่ไหน เช่น บ้านพักฉุกเฉิน
* ขอร้องให้เพื่อนบ้านช่วยโทรเรียกตำรวจถ้าเห็นว่าสามีหวนกลับมา
* จัดกระเป๋าเตรียมไว้ เผื่อฉุกเฉินจะได้คว้าวิ่งออกไปได้เลย ซุกไว้ ในที่ปลอดภัย หรือฝากเพื่อน หรือญาติที่ไว้ใจได้
* อย่าลืมเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น คำสั่งศาล พาสปอร์ต สูติบัตร ของตัวกับของลูก ทะเบียนสมรส เอกสารเกี่ยวกับอิมมิเกรชั่น ประวัติสุขภาพ เงินสด กุญแจรถ ฯลฯ
* ใช้บริการโทรศัพท์ แบบ unlisted phone number
* Block caller ID
* ใช้เครื่องตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติเสมอ
* เรียนวิชาป้องกันตัวเอาไว้บ้าง
***ถึงคุณจะแต่งงานและย้ายเข้าไปอยู่ใน บ้านสามี หรือบ้านที่ซื้อร่วมกัน ถ้าสามีทำร้ายร่างกายคุณ คุณสามารถร้องขอความคุ้มครองต่อศาลได้ และบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยื่งในกรณีที่คุณมีลูกเล็ก ศาลจะออกคำสั่ง ให้สามีย้ายออกจากบ้าน และห้ามติดต่อคุณกับลูก ยกเว้น กรณีที่ศาลสั่ง ให้สามีมีสิทธิ์เยี่ยมลูกได้ ซึ่งต้องมีข้อกำหนดเป็นเรื่องๆ ไป***
3. เตรียมตัวให้ลูกด้วย
* สอนลูกว่าอย่าเข้ามาห้าม หรือเข้ามาขวางเวลาที่แม่ถูกทำร้าย เพราะจะทำให้สถานการณ์แย่หนักไปกว่าที่ควร และมีโอกาสที่จะบาดเจ็บ จากการถูกลูกหลงได้มาก
* สอนลูกว่าโทร 911 ทำยังไง, การบอกตำแหน่งที่อยู่ และเบอร์ โทรศัพท์ ให้กับตำรวจ
* สอนลูกว่าถ้าสามี เข้ามาในบ้านได้ ให้รีบวิ่งหนีออกจากครัว ก่อนอื่น
* แจ้งครูใหญ่ที่โรงเรียนลูก หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก พร้อมหมายศาล ว่าห้ามลูกคุณพูดกับคนแปลกหน้า ห้ามให้รูปถ่ายของลูกกับคนแปลกหน้า และถ้าคุณติดต่อกับโรงเรียนทางโทรศัพท์ มี password เสมอ เพื่อป้องกัน การสวมรอย
* ย้ำกับลูกให้ชัดเจนว่า ถ้าหากเห็นสามีคุณที่โรงเรียนควรจะ บอกใคร
* ย้ำกับทางโรงเรียนให้ชัดเจนว่า ห้ามให้ที่อยู่ กับหมายเลขโทรศัพท์ ของคุณกับใครทั้งสิ้น
4. ป้องกันตัวคุณเองเวลาออกนอกบ้าน
* พยายามอย่าซ้ำเส้นทางเดิมทุกๆ วัน
* อย่าจ่ายกับข้าว ซื้อของ ที่ร้านเดิมๆ หรือไปธนาคารเดิม
* ยกเลิกบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต ฯลฯ ที่มีชื่อร่วมกัน; เปิดบัญชี ใหม่ที่ธนาคารอื่น
* พกสำเนาหมายศาล และหมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญๆ ไว้กับตัว ตลอดเวลา
* พกโทรศัพท์มือถือ & ตั้งหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินเป็น 911 จะได้กดปุ่มเดียวออก
5. ป้องกันตัวเอง ณ ที่ทำงาน
* พกสำเนาหมายศาล และหมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญๆ ไว้ที่ที่ทำงาน ด้วย
* เอารูปของสามีคุณ ให้เพื่อนๆ ที่ทำงาน และพนักงานรักษา ความปลอดภัยดู จะได้ช่วยกันไม่ให้สามีคุณเข้ามาได้
* บอกเจ้านายคุณ - เพื่อที่จะได้ช่วยหาวิธีช่วยป้องกัน
* อย่าออกไปกินข้าวกลางวันคนเดียว
* ขอร้องพนักงานรักษาความปลอดภัย ให้เดินเป็นเพื่อน เวลาคุณ ไปขึ้นรถ
* ถ้าสามีคุณ โทร หาคุณ หรือพยายามติดต่อคุณที่ที่ทำงาน, save voice mail กับ e-mail เอาไว้เป็นหลักฐาน
6. ขอหมายศาล หรือที่เรียกว่า Protection or Restraining Orders
* ติดต่อ local domestic violence program ให้ช่วยประสาน งานในการขอหมายศาล และเรื่องดำเนินคดีกับสามีคุณ
* ติดต่อทนายความ
ในกรณีทั่วไป ศาลจะดำเนินการ:
* ออกคำสั่งศาลให้สามีคุณ อยู่ห่างจากคุณกับลูก
* ออกคำสั่งศาลให้ สามีคุณ ย้ายออกจากบ้าน
* ให้คุณมีอำนาจในการปกครองบุตรชั่วคราว & สั่งให้ สามีคุณ จ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรชั่วคราวจนกว่าเรื่องจะจบ
* สั่งให้ตำรวจมาที่บ้านคุณเพื่อดูแลเหตุการณ์ เวลาที่ สามีคุณมาขน ข้าวของส่วนตัวออกไป
* ให้สิทธิขาดคุณในการครอบครองรถยาต์ เครื่องเรือน และ ข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ
* ออกคำสั่งศาลให้ สามีคุณไปเข้าโครงการ batterers intervention program
* ออกคำสั่งศาล ห้าม สามีคุณ โทรก่อกวนคุณ
* ออกคำสั่งศาลให้ สามีคุณ มอบอาวุธปืนให้กับตำรวจ (ถ้ามี)
สิ่งที่คุณต้องทำในศาล
* ให้ผู้พิพากษาดูรูปที่ถ่ายหลังจากที่คุณมีร่องรอยฟกช้ำดำเขียว จากการถูก สามีคุณทำร้าย
* บอกกับผู้พิพากษาว่า คุณรู้สึกไม่ปลอดภัยเวลาสามีคุณ มาที่บ้าน เพื่อมาเยี่ยมลูก (visitation)
* บอกกับผู้พิพากษาว่า คุณขอให้สามีรับลูกที่อื่น ที่คุณรู้สึก ปลอดภัยกว่า เช่น สถานีตำรวจ
* ขอให้ศาลออกหมายระบุเวลาการเยี่ยมลูกให้ชัดเจน เพื่อที่ว่า ถ้าคุณมีปัญหาเนื่องจาก สามีคุณอ้างสิทธิ์การมาเยี่ยมลูก ในเวลาที่ ไม่เหมาะสม ตำรวจจะได้ไม่สับสนเวลาคุณโทรแจ้งความ
* ถ้าสามีคุณเคยทำร้ายลูก บอกกับผู้พิพากษาว่า คุณต้องการให้ การเยี่ยมลูกนั้น มีบุคคลที่สามอยู่ด้วย (supervised visitation) คุณต้อง ระบุไปด้วยว่าจะให้ใครทำหน้าที่นี้ ควรเป็นคนที่คุณไว้ใจ และมั่นใจว่า ยินดีจะช่วยคุณ
* ขอหมายศาลเป็นฉบับที่รับรองสำเนา (certified copy) ขอไว้ สักสามสี่ชุด
7. การดำเนินคดีทางอาญา
สิ่งที่คุณต้องส่งให้อัยการคือ
* คำสั่งศาล Protection or Restraining Orders
* หนังสือรับรองการรักษาจากหมอที่รักษาคุณ เมื่อตอนที่ถูกทำร้าย แจกแจงรายละเอียดของอาการบาดเจ็บ พร้อมทั้งรูปถ่าย
* ชื่อ และที่อยู่ของทุกคนที่รู้เห็นเหตุการณ์ ที่ช่วยคุณออกมา จากเหตุการณ์ รวมทั้งตำรวจ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นๆ
* คำให้การของพยานที่รู้เห็น รู้จัก สามีคุณว่ามีนิสัยเป็นอย่างไร
* ขอร้องอัยการให้แจ้งคุณล่วงหน้าก่อนที่ สามีคุณจะถูกปล่อยจากเรือนจำ
8. เวลาไปศาลก็ต้องระวังตัว
* นั่งให้ไกลจากสามีคุณ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้; ไม่ต้องพูดด้วย ไม่ต้องมองหน้า สบตา ไม่ได้ทั้งนั้น; อย่าพูดคุยกับครอบครัว หรือ เพื่อนของ สามีคุณ
* เอาเพื่อนหรือญาติไปด้วย อย่าไปคนเดียว
* แจ้งเจ้าหน้าที่ประกันตัว หรือนายอำเภอ ว่า คุณกลัวสามีคุณจะ หน้ามืดเพราะความโกรธและโจนเข้ามาทำร้ายคุณ ขอให้ช่วย ระวังให้ คุณด้วย
* ตรวจดูเอกสารทุกอย่าง รวมทั้งหมายศาล ว่าทุกอย่างเรียบร้อย ก่อนกลับ
* ขอร้องศาลหรือนายอำเภอให้กักตัว สามีคุณ เอาไว้ก่อน เพื่อที่คุณ จะได้ไม่ต้องไปประจันหน้ากันข้างนอก จากนั้น คุณรีบเดินทางกลับ ให้เร็วที่สุด
* ถ้าสามีคุณ ตามคุณมา, โทรแจ้งตำรวจทันที
* ถ้าคุณต้องเดินทางออกนอกรัฐ ไม่ว่าจะไปทำงาน หรือเพื่อหนีจาก สามีคุณให้พกคำสั่งศาลติดตัวไปด้วยเสมอ
หมายเหตุ : ศาลทุกแห่งมีมาตราการรักษาความปลอดภัยค่อนข้างเข้มงวด เนื่องจากปรากฏว่ามีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นเนืองๆ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในอาคารศาล หรือประชาชน ทุกคนต้องผ่านการตรวจค้น โดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและนายอำเภอ ทุกอย่างที่อาจใช้เป็น อาวุธได้ รวมทั้งร่ม จะถูกบังคับให้ฝากไว้ตรงทางเข้าออก โทรศัพท์มือถือ พกเข้าไปได้ แต่ต้องปิดเครื่อง ภายในห้องแต่ละห้อง มีเจ้าหน้าที่รักษา ความปลอดภัย แต่กระนั้นก็ยังปรากฏว่าบ่อยครั้งที่ผู้ต้องหาลุแก่อำนาจโทสะ กระโจนเข้าทำร้ายโจทก์ หรือโจทก์ทำร้ายผู้ต้องหา เนื่องจากรู้สึกว่า กฏหมายไม่เฉียบขาดอย่างที่หวัง คือหลักฐานอ่อน ทำอะไรไม่ได้มาก ดังนั้นระวังไว้หน่อยเป็นดีค่ะ
© 2007 Lawanwadee