ReadyPlanet.com
dot dot
Filing Paternity Suit


Q:  มีเพื่อนสาวชื่อ A ทำงานอยู่อเมริกา ตอนนี้ถือกรีนการ์ด 10 ปี  ตั้งท้อง 6เดือน กับชายอเมริกันซึ่งมีเขาภรรยาแล้ว โดยที่ A ไม่รู้ว่าเขามีภรรยาและจดทะเบียนแล้ว และตอนนี้ฝ่ายชายทำท่าจะจะไม่รับในเรื่องลูกและ A ด้วย(ยังเจรจาก็ไม่เด็ดขาด) แต่ A ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่ทำแท้งโดยเด็ดขาด

A ตอนนี้กลับมาเมืองไทยเพื่อเยี่ยมบ้านและตัดสินใจในอนาคตของตัวเองและลูกที่ กำลังจะเกิดในอีกไม่ช้า A คิดสับสนมาก แต่ขอแยกเป็น 3 แนวทาง คือ

1. จะกลับไปปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ เพื่อคลอดลูกที่อเมริกา เพื่อให้ลูกได้ซิติเซน แล้วเดินทางกลับไทยพร้อมลูก ทำงานในไทย โดยไม่สนใจฝ่ายชาย แล้วค่อยคิดที่จะฟ้องร้องผู้ชายทีหลัง แต่ A ยังไม่รู้ว่าจะฟ้องร้องอย่างไร ฟ้องตอนนี้หรือรอให้ลูกอายุ 18 ก่อนค่อยฟ้องดี อีกอย่างกลัวว่าฝ่ายชายจะกลั่นแกล้ง แยกเอาลูกไป กลัวผู้ชายโดนฟ้องกลับ

2. อยากให้ฝ่ายชายรับรองเรื่องบุตร(ได้ซิติเซน) และคลอดที่อเมริกา (กำลังเจรจากันอยู่ ซึ่ง A ก็อยากได้แบบนั้น) ฝ่ายชายก็อำอึ้ง รีรอ ไม่บอกไม่พูดเสียที จะทำอะไรก็ไม่ทำ เรื่องตั๋วเครื่องบินก็ไม่จัดการให้ เวลาก็ใกล้ที่จะ 7 เดือนแล้ว กลัวสายการบินไม่ให้ขึ้นเครื่องบินแล้วหลังจากนั้น A ก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกับอนาคตของตัวเองและลูกดีในอเมริกา

3. ไม่ไปอเมริกาแล้ว คลอดในเมื่องไทยนี่แหละ แต่ว่าเวลาคลอดใส่ชื่อผู้ชายลงไปว่าเป็นพ่อ แล้วค่อยไปอเมริกา(แต่เมื่อไหร่ไม่รู้) แล้วจัดการฟ้องร้องหรือพิสูจน์ความเป็นพ่อลูกทีหลัง แล้วเรียกค่าเลี้ยงดู ค่าเสียหาย และอื่น ๆ ทีหลัง
ใครมีความรู้หรือประสบการณ์แบบนี้ ช่วยบอกกล่าวหน่อยนะครับ สงสาร A มากครับ




A:  ก่อนจะใส่ชื่อเขาเป็นพ่อ ขอให้คิดทบทวนดูก่อนว่า ปฏิกริยาของเขาเมื่อรู้ว่าคุณตั้งครรภ์เป็นอย่างไร.... เขาอยากให้คุณทำแท้งหรือเปล่า เขาเคยมีลูกมาก่อนกี่คน และยังมีภาระที่ต้องส่งเสียเพราะเด็กยังอายุไม่ถึง 18 กี่คน เขาทำงานอะไร รายได้เท่าไหร่ มีหนี้สินมากน้อยแค่ไหน

การมีชื่อพ่อในสูติบัตร บางครั้งไม่ดีนัก... เพราะเท่ากับเปิดโอกาส ให้เขามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบชีวิตลูกในทุกเรื่องเท่าๆ กับคุณไปอีก 18 ปีเต็ม สาว ไทยจำนวนมากเจอปัญหาที่ว่า อยากพาลูกกลับเมืองไทย ไปเยี่ยมคุณตาคุณยายสักครั้ง แต่อดีตสามีไม่ยอม..... เคยมีหลายราย ที่พาลูกกลับไปโดยไม่ฟัง แล้วก็ทิ้งลูกไว้ที่เมืองไทย พอตัวกลับมาถึงอเมริกา โดนรวบตัวที่สนามบินข้อหา parental kidnapping เพราะสามีแจ้งความเอาไว้ เรื่องการช่วงชิงสิทธิการปกครองบุตรในอเมริกา เป็นอะไรที่ nasty มากๆ พอๆ กันกับเรื่องหย่าเลยทีเดียว

ไม่ทราบว่าคุณทำงานอะไร และยังมีงานทำอยู่หรือไม่  ถ้ามีงานประจำทำในอเมริกา และได้สิทธิลาคลอดตามกฏหมาย ก็พอกล้อมแกล้ม แต่หลังจากนั้น พอต้องกลับไปทำงาน ตรงนี้จะเป็นเรื่องยากมากสำหรับ single mom  เพราะค่าเดย์แคร์แพง ยิ่งถ้าคุณทำงานเป็นกะ เข้าออกไม่เป็นเวลา ต้องจ้างพี่เลี้ยงจะยิ่งแพงกลายเป็นว่าเงินที่หาได้ในแต่ละเดือนเป็นค่าจ้าง พี่เลี้ยง ค่านม ค่าแพมแพิร์ส หมด  ต่อให้เรียกร้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้ก็เถอะค่ะ หากเขาเป็นประเภท deadbeat dad จ่ายมั่งไม่จ่ายมั่ง หรือเปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ บ้านที่อยู่ก็ไม่ใช่ชื่อตัวแต่เป็นของเมีย อย่างนี้จะยิ่งหนัก คือนอกจากจะไม่ช่วยแบ่งเบาภาระแล้ว ยังทำให้กลุ้มใจปวดหัวได้บ่อยๆ  ลำพังเลี้ยงลูกอย่างเดียวก็หนักแล้วค่ะ

การเรียกร้องสิทธิเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตรนั้นทำเมื่อไหร่ก็ได้ ถึงแม้ว่าเด็กจะอายุเกิน 18 ไปแล้วก็ตาม  แต่การที่จะให้พ่อเขารับรองบุตรว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายนั้น ต้องทำก่อนที่เด็กจะมีอายุครบ 18 ปี  

ถ้าเขารับรองบุตรไปแล้ว มีชื่อเขาในสูติบัตรว่าเป็นพ่อ อย่างนี้จะฟ้องเรียกร้องสิทธิเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตรเมื่อลูกอายุเกิน 18 ก็ได้ แต่ในกรณีที่ไม่ได้ใส่ชื่อพ่อในสูติบัตรก็ยื่นเรื่องต่อศาล ขอพิสูจน์ดีเอ็นเอ (filing paternity suit)  โดยคุณต้องมีพยานหลักฐานว่าในระหว่างปฏิสนธินั้น คุณได้คบหากับผู้ชายคนนี้อยู่ถึงขั้นลึกซึ้งจริง  หากผลตรวจดีเอ็นเอบ่งชี้ว่าเขาเป็นพ่อเด็กจริง  ศาลก็จะมีคำสั่งให้เขาจ่ายค่าเลี้ยงดูพ่วงมาด้วย คือไม่ต้องฟ้องสองครั้ง.... หนเดียวค่ะ

สำหรับการฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร ปกติแล้วคุณต้องมีคำสั่งศาลเรื่องการจ่ายค่าเลี้ยงดูไปยื่นกับ child support services ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่ติดตามเร่งรัด และช่วยเหลือในกรณีแบบนี้ ในบางรัฐทางการให้ความช่วยเหลือในประเด็นนี้ดีมาก เช่น แคลิฟอร์เนีย  ถ้าคุณยังไม่มีคำสั่งศาลเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตร ทางการก็จะช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้ในการยื่นเรื่องต่อศาล  (ทั้งนี้ก็เพราะถ้าไม่ช่วย ผลก็คือ ทั้งแม่และเด็กจะกลายเป็นภาระของรัฐ  ในเมื่อเด็กมีพ่อก็ให้พ่อเด็กรับไป.... รัฐกำลังถังแตกอยู่ด้วย)  แต่ในหลายๆรัฐ คุณต้องมีคำสั่งศาลไปยื่นค่ะ   ส่วนค่าใช้จ่ายนั้นก็มีค่าธรรมเนียมศาล ค่าตรวจดีเอ็นเอ ถ้าภาษาอังกฤษอยู่ในขั้นช่วยตัวเองได้ก็ฟ้องเองได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ทนายก็ได้ แต่ถ้าฝ่ายชายมีฐานะ.. ควรใช้ทนาย เพราะอาจจะต้องนำสืบว่าเขาซุกซ่อนทรัพย์ไว้บ้างหรือเปล่า หลักฐานการเงินที่เขาเอามาแสดงน่ะจริงไหม  คนรวยๆ จะเก่งในเรื่องกลโกงเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ มากกว่าคนระดับกลางทั่วไป

เรื่องนี้ตัดสินใจยากค่ะ.. แต่ทั้งสามตัวเลือกนี้มีข้อดีข้อเสียต่างกัน

1. ถ้าจะกลับไปคลอดลูกที่อเมริกา.......... หลังคลอดคุณต้อง file paternity suit ทันที  พอ ได้คำสั่งศาลแล้ว จะเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรเลย หรือจะรอไปจนลูกโตแล้วค่อยมาฟ้องย้อนหลังก็ได้   ถ้าจะเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรเลย.. ก็อาจจะมีปัญหาว่า จะทำอะไรต้องให้เขาเซ็นยินยอม และประการสำคัญคือเขาไม่ยอมให้คุณหอบลูกกลับไปเลี้ยงที่เมืองไทย  เหตุผลที่ควร file paternity suit ในอเมริกาก็เพราะเหตุเพิ่งเกิด จะง่ายกว่าการไปยื่นผ่านสถานทูตอเมริกันในไทย ตรงนั้นยากมากและใช้เวลานานมากค่ะ  และถ้าเรื่องผ่านไปนานหลายปี  พยานหลักฐานของคุณอาจจะหายไปหมด  ถ้าทำในอเมริกา การตรวจดีเอ็นเอมีตัวเลือกมากกว่า คือที่ไหนก็ได้ที่รัฐรับรอง แต่ถ้าทำเรื่องผ่านสถานทูตอเมริกาในไทย ต้องไปตรวจที่ห้องแล็บที่สถานทูตกำหนดเท่านั้น และแพงกว่ามากค่ะ

2. ถ้าจะคลอดในเมืองไทย อย่าใส่ชื่อพ่อเด็กในสูติบัตรเป็นอันขาด เพราะ เวลาทำนิติกรรมทั้งหลายที่เกี่ยวกับตัวเด็ก คุณจะต้องตามล่าลายเซ็นเขาทุกครั้ง และถ้าเป็นการทำพาสปอร์ต และการเดินทางออกนอกประเทศจะยิ่งยาก  ถ้าเลือกข้อนี้... คุณต้อง file paternity suit ก่อนที่ลูกจะมีอายุครบ 18 ปี

3. จะคลอดที่ไหนก็ตาม ถ้าคุยกันได้... ใส่ชื่อเขาเป็นพ่อ ถ้าคลอดในไทยก็ให้เขายื่นขอซิติเซ่นให้ลูกไปด้วยพร้อมกัน พอเรียบร้อยแล้วให้เขาทำหนังสือสละสิทธิการปกครองบุตร ให้คุณเป็นผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฏหมายแต่เพียงผูู้เดียว  วิธีนี้ tricky นิดหน่อย เพราะคนอเมริกันจำนวนมากยังเข้าใจว่า เมื่อทำเรื่องสละสิทธิการปกครองบุตร ก็น่าจะไม่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร  ซึ่งไม่จริงค่ะ.... ถึงทำเรื่องสละสิทธิการปกครองบุตรไปแล้ว แต่ค่าเลี้ยงดูบุตรก็ยังต้องจ่ายไปจนเด็กอายุครบ 18

การจะฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรนั้นต้องไปยื่นฟ้องด้วยตัวเองในอเมริกา ในรัฐที่คุณมีภูมิลำเนาอยู่ จะฟ้องข้ามประเทศมาจากเมืองไทยไม่ได้ ยกเว้น คุณจะฟ้องศาลไทยก่อน แล้วนำคำสั่งศาลจากไทย ไปจ้างทนายในอเมริกาให้ยื่นต่อศาลเพื่อให้รับรองคำสั่งศาลจากไทยให้มีผล บังคับใช้ในอเมริกาได้ วิธีนี้ไม่แนะนำเพราะแพงมาก  ค่าใช้จ่ายหลักล้านบาท สู้เก็บเอาไว้เลี้ยงลูกดีกว่าค่ะ   และปัญหาหนึ่งก็คือ ทนายไทยที่เชี่ยวชาญเรื่องการฟ้องข้ามประเทศมีไม่มาก เคยเจอบ่อยๆ ว่าเรื่องหายไปเป็นปี ตามไม่ได้....

หลายคนกังขาเรื่องการฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง... คนที่ไม่ได้คลุกคลีกับงานด้านนี้อาจจะไม่ทราบ  และสงสัยว่าทำได้จริงหรือ ผู้หญิงอเมริกันจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะใช้วิธีนี้  ผู้หญิงกลุ่มนี้โดยมากจะมีงานทำ พึ่งตัวเองได้  เหตุผลที่ไม่เรียกร้องค่าเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่ต้นก็เพราะหลายสาเหตุ เช่น ฝ่ายชายไม่รับ.. มีเมียอยู่แล้ว  หรือไปเจอ deadbeat dad ที่มีหลากหลายประเภท ตั้งแต่ย้ายงาน ย้ายที่อยู่เป็นว่าเล่น จะได้หาตัวไม่เจอ... เวลาจะส่งหมายศาลก็ไม่รู้จะไปส่งที่ไหน  ต้องเสียเงินจ้างนักสืบตามตัว หรือจะไปอายัดเงินเดือนก็หาที่ทำงานที่เป็นหลักแหล่งไม่ได้ หรือบางรายทำงานรับเงินสด ไม่มีเอกสารอะไร   แต่พออายุมากขึ้น.. จะมามัวหนีอยู่ไม่ได้แล้ว ชักเหนื่อย บวกกับชะล่าใจว่าลูกโตๆ แล้ว แม่เด็กไม่เคยมาตามทวง.... คงไม่มาอะไรแล้ว.......... ทีนี้พอโดนเรียกย้อนหลังเข้าก็หงายไปตามๆ กัน   การตามไล่ล่าทวงค่าเลี้ยงดูบุตรเดือนละไม่กี่ร้อยเหรียญทุกบ่อย ไม่ใช่เรื่องสนุกถ้าคุณต้องเลี้ยงลูกคนเดียว และต้องทำมาหากินค่ะ

เมื่อไม่นานมานี้เอง มีเคสค่าเลี้ยงดูบุตรเคสนึง เดิมทีคนที่ริเริ่มจะฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังคือลูกสาววัยสามสิบ เพราะเข้าใจว่าตัวเองมีสิทธิในเงินก้อนนี้  ตามกฏหมายแล้ว คนที่จะฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังได้ต้องเป็นแม่เด็ก หรือเป็นผู้ปกครองโดยชอบดวยกฏหมาย (มีคำสั่งศาล) เท่านั้น เจ้าตัวต้องการเงินไปเป็นค่ารักษาพยาบาลแม่ที่เริ่มป่วยกระเสาะกระแสะ  ก็เลยให้แม่เป็นคนฟ้อง มีทนายเป็นคนจัดการให้... ผลคือ นอกจาก 17% ของรายได้แล้ว ยังได้ดอกเบี้ยด้วยค่ะ  

แต่สรุปก็คือถ้าเขาไม่มีเงินไม่มีฐานะ เป็นลูกจ้างหาเช้ากินค่ำ อย่าไปเสียเวลาเลยค่ะ.... ปวดหัวกับเรื่องนี้บางทีไม่สนุกนัก การได้อเมริกันซิติเซ่นไม่ใช่ว่าจะดีอะไรมากมาย เมื่อเทียบกับพลเมืองประเทศอื่น นอกจากเรียนฟรีไปจนจบการศึกษาภาคบังคับ กับการไปไหนๆ ไม่ต้องขอวีซ่าให้ยุ่งยากเท่านั้น....... ลองชั่งน้ำหนักดูว่าคุ้มไหมนะคะ








Cheap calls to Thailand with Localphone




Feature Articles

W-2 employee vs 1099-MISC
Wage Garnishment (สำหรับสมาชิก)
W-2 Or 1099-MISC (สำหรับสมาชิก)
ทำอย่างไร หากนายจ้างเอาชื่อเราไปรับค่าแรงแทนเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน (สำหรับสมาชิก)
ปัญหาจากที่ทำงาน: ค่าแรง (สำหรับสมาชิก)
การฟ้องคดี (สำหรับสมาชิก)
W-2 (สำหรับสมาชิก)
Powerball Lottery (สำหรับสมาชิก)
Immigration News Updated 2/26/2017
Undocumented Aliens (สำหรับสมาชิก)
US Inheritance Tax (สำหรับสมาชิก)
Online Relationship
Happy 2016
การขอใบอนุญาตทำงานในอเมริกา (สำหรับสมาชิก)
Visa Questions
Driving without Drivers License (สำหรับสมาชิก)
Defamation (สำหรับสมาชิก)
Crossing the border to Canada (สำหรับสมาชิก)
Escrow (สำหรับสมาชิก)
Tax Refund (สำหรับสมาชิก)
Lotto (สำหรับสมาชิก)
ภาษาอังกฤษหญ้าปากคอก 1 (สำหรับสมาชิก)
Single Mom? (สำหรับสมาชิก)
Shelter or No Shelter?
Dual Citizenship and Inheritance (สำหรับสมาชิก)
Inheritance (สำหรับสมาชิก)
ถูกจับ-ถูกส่งกลับ (สำหรับสมาชิก)
Divorce in Thailand 1 (สำหรับสมาชิก)
Partnership Issues (สำหรับสมาชิก)
Happy New Year 2015
License Fraud (สำหรับสมาชิก)
Step Children (สำหรับสมาชิก)
Obtaining Thai Citizenship (สำหรับสมาชิก)
Immigration Raid (สำหรับสมาชิก)
Drivers License for Illegal Aliens
When you got a ticket (สำหรับสมาชิก)
The Other Women
Maintain Status (สำหรับสมาชิก)
Can foreigners own businesses in US? (สำหรับสมาชิก)
Credit Report Contacts (สำหรับสมาชิก)
loan (สำหรับสมาชิก)
How and Where to file Divorce (สำหรับสมาชิก)
Food Truck (สำหรับสมาชิก)
H-2B Visa (สำหรับสมาชิก)
Wage Theft Violations News
Scammer... again (สำหรับสมาชิก)
Shoplifting (สำหรับสมาชิก)
Locating Spouse (สำหรับสมาชิก)
Potential Nannies Scam (สำหรับสมาชิก)
Child Support in AZ (สำหรับสมาชิก)
Dealing with a Consignment Shop (สำหรับสมาชิก)
When to Return (สำหรับสมาชิก)
New Passport (สำหรับสมาชิก)
True Story: FLPD (สำหรับสมาชิก)
Dual Citizenship (สำหรับสมาชิก)
Gift Certificate (สำหรับสมาชิก)
Child Custody and Visitation (สำหรับสมาชิก)
Plan B (สำหรับสมาชิก)
Real Estate & Visa (สำหรับสมาชิก)
Bringing Money to/from US (สำหรับสมาชิก)
Parental Kidnapping (สำหรับสมาชิก)
Sham Marriage (สำหรับสมาชิก)
K-1 (สำหรับสมาชิก)
B1/B2 Visa (สำหรับสมาชิก)
Extortion (สำหรับสมาชิก)
Tax Myths (สำหรับสมาชิก)
Tax for Non-Residents (สำหรับสมาชิก)
Thai-Jordanian Citizenship (สำหรับสมาชิก)
Leaving Your Kids in the Car (สำหรับสมาชิก)
Responding to Divorce or Separation (สำหรับสมาชิก)
Divorce (สำหรับสมาชิก)
E-File rejected by IRS (สำหรับสมาชิก)
How to Invest or Trade in US Stock Market for non-US Citizen
Sexting Teens facing felony charges (สำหรับสมาชิก)
F-1, Work and Taxes (สำหรับสมาชิก)
Credit Card Fraud (สำหรับสมาชิก)
My Ex Was Awarded My Retirement (สำหรับสมาชิก)
"As Is" (สำหรับสมาชิก)
FBAR (สำหรับสมาชิก) article
Sex Discrimination 2 (สำหรับสมาชิก)
Sex Discrimination 1 (สำหรับสมาชิก)
Merry Christmas and Happy Holidays
Transmittal of U.S. Citizenship (สำหรับสมาชิก)
Dating During Divorce (สำหรับสมาชิก)
Why Background Check is Important Before Marriage (สำหรับสมาชิก)
Child Support Offender (สำหรับสมาชิก)
Owing Child Support (สำหรับสมาชิก)
Unbelievable Celebrity Prenups (สำหรับสมาชิก)
Hiding Financial Assets (สำหรับสมาชิก)
Green Cards Through Marriage (สำหรับสมาชิก)
Domestic Partners (สำหรับสมาชิก)
The 12 Companies Paying Americans the Least
America’s Most Violent States
Attention Please
Divorce and Tax Considerations (สำหรับสมาชิก)
Foreigners Starting Businesses In USA (สำหรับสมาชิก)
Bigamy (สำหรับสมาชิก)
Facts About Child Sexual Abuse (สำหรับสมาชิก)
Tax relief for losses in natural disasters



bulletFeature Articles
bulletMarriage & Divorce
bulletImmigrant Visa
bulletNon-Immigrant Visa
bulletFree Zone
bulletExchange Program
bulletWomen & Money
bulletThai Laws
bulletDating
bulletSSN & DL
bulletMisc
bulletBehind the Facade
bulletCoffee Break
bulletMarket Place
dot
useful links
dot
bulletCase status online
bulletUSCIS Civil Surgeons
bulletUSCIS Field Offices
bulletImmigration Overseas Offices
bulletApplication Support Centers
bulletInfoPass
bulletUSCIS Home
bulletImmigration Forms
bulletForeign Embassies and Consulates Worldwide
bulletDept of Labor
bulletDept of State
bulletETA
bulletVisa Bulletin
bulletTravel
bulletEOIR
bulletSelective Service
bulletSocial Security Online
bulletIRS
dot
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน
dot
bulletUtopiaThai
bulletWorldTimes
bulletHumansRights
dot
Newsletter

dot

แบนเนอร์ตัวอย่าง
แบนเนอร์ตัวอย่าง
แบนเนอร์ตัวอย่าง


Copyright © 2009-2015 All Rights Reserved.